การศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องมือตัด เพื่อลดต้นทุนในการผลิต กรณีบริษัทตัวอย่าง

การศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องมือตัด เพื่อลดต้นทุนในการผลิต กรณีบริษัทตัวอย่าง

คณะผู้จัดทำ             1.นายอนุวัฒน์ ดวงแก้ว   2.นางสาววราพรรณ์ ลาภวิไล

อาจารย์ที่ปรึกษา      พันจ่าอากาศเอกศักดิ์ชัย จันทศรี 

ปี                                 พ.ศ.2561

คำสำคัญ                    ลดต้นทุน เครื่องมือตัด ความสามารถของกระบวนการ

บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำความรู้ทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการมาประยุกต์ใช้ในการลดต้นทุนการผลิตชิ้นงานชุดทดกำลังพวงมาลัยรุ่นตัวอย่าง โดยทำการศึกษาและวิเคราะห์เพื่อหาปัจจัยที่มีต้นทุนที่สูงที่สุด และนำมาพิจารณาตัดสินใจปรับปรุงลดต้นทุนให้ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 โดยศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องมือตัดที่นำมาใช้ทดแทนในการศึกษาเรื่องต้นทุนของเครื่องมือตัด ได้นำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคกราฟพาเรโตเพื่อหาปัจจัยที่มีต้นทุนที่สูงที่สุด พบว่าเครื่องมือตัด Tool No. T15 และ Tool No. T21 มีต้นทุนที่สูงรวมกันคิดเป็นร้อยละ 47.91 ของต้นทุนทั้งหมด และมีค่าดัชนีค่าความสามารถของกระบวนการ ต่ำกว่า 1.67                                                                               จึงพิจารณาเลือกมาทำการลดต้นทุนโดยการหาเครื่องมือตัดชนิดใหม่ที่มีราคาถูกกว่าเข้ามาใช้ทดแทน และนำมาทดลองตามเงื่อนไขของการผลิต โดยใช้หลักการของค่าความสามารถของกระบวนการมาควบคุมคุณภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพของเครื่องมือตัดจากผลการดำเนินโครงการพบว่า เครื่องมือตัด Tool No. T15 ชนิดใหม่มีดัชนีค่าความสามารถของกระบวนการมากกว่า 1.67 สามารถลดราคาเครื่องมือตัดได้ทั้งหมด 23,938 บาทต่อเดือน หรือคิดเป็น 287,258 บาทต่อปีและต้นทุนในการผลิตต่อชิ้นจากเดิม 24.99 บาท ปัจจุบันลดลงเหลือ 8.92 บาท คิดเป็นร้อยละ 64.3 และเครื่องมือตัด Tool No. T21 ชนิดใหม่มีดัชนีค่าความสามารถของกระบวนการมากกว่า 1.67 สามารถลดราคาเครื่องมือตัดได้ทั้งหมด 123,557 บาทต่อเดือน หรือคิดเป็น 1,554,693 บาทต่อปีและต้นทุนในการผลิตต่อชิ้นจากเดิม 99.25 บาทต่อชิ้นลดลงเหลือ 12.30 บาทต่อชิ้น คิดเป็นร้อยละ 87.6 โดย ที่ยังคงคุณภาพการผลิตตามเดิม

Abstract

This project aims to apply the knowledge of industrial engineering to reduce the production cost of the sample steering gear reducer. By conducting studies and analyses to determine the factor with the highest cost. And to consider the decision to improve the cost reduction by not less than 10% by studying the efficiency of the replacement cutting tool in the study of cutting tool cost. The data were analyzed using the Pareto graph technique to determine the highest cost factor. It was found that Tool No. T15 and Tool No. T21 cutting tools had a high cost combined, accounting for 47.91% of the total cost. And with a process capability index lower than 1.67, therefore, consider choosing to reduce costs by finding new, cheaper cutting tools to replace. And tested according to production conditions By using the principle of process capability to control the quality In order to obtain the efficiency of the cutting tool from the project performance, The new Tool No. 8.92 baht or 64.3%, and the new tool No. From 99.25 baht per piece, reduced to 12.30 baht per piece, equivalent to 87.6 percent while maintaining the same quality of production.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *