การศึกษาอิทธิพลและตัวแปรของมุมหลบด้านข้างที่มีผลต่อคุณภาพผิวงาน ด้วยมีดกลึง HSS

การศึกษาอิทธิพลและตัวแปรของมุมหลบด้านข้างที่มีผลต่อคุณภาพผิวงานด้วยมีดกลึง HSS

คณะผู้จัดทำ                 1.นายประภูศักดิ์ เทพรัตน์        2.นางสาวละอองดาว ชาวเวียง

อาจารย์ที่ปรึกษา         1.อาจารย์บุญส่ง จงกลณี         2.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรีไร จารุภิญโญ

ปี                                    พ.ศ. 2559

คำสำคัญ                       มุมหลบด้านข้างของมีดกลึง HSS, เหล็กเพลา S50C, แรงตัดเฉือน ความหยาบผิวชิ้นงาน

บทคัดย่อ

โครงการนี้เป็นโครงการทดลองการศึกษาอิทธิพลและตัวแปรของมุมหลบด้านข้างที่มีผลต่อ คุณภาพผิวงานด้วยมีดกลึง High Speed Steel โดยใช้วิธีการกลึงปอกผิวชิ้นงาน ที่มีปัจจัยต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องประกอบด้วย มุมหลบของมีดกลึง ความเร็วตัด และอัตราป้อน โดยทาการกลึงชิ้นงาน เพื่อศึกษาค่าแรงตัดเฉือน และค่าความหยาบของผิวชิ้นงานจากการกลึงด้วยมีดกลึงที่มีมุมหลบ 3 ค่า
วิธีดาเนินการทาการกลึงปอกวัสดุชิ้นงานเหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง S50C โดยใช้มีด High Speed Steel ที่มีมุมหลบด้านข้างต่างกัน 3 มุม คือ 8 , 10 และ 12 องศา มุมด้านหน้า 8 องศา มุมคายเศษ 15 องศา ใช้อัตราป้อน (Feed) 3 ระดับคือ 0.1 , 0.16 และ 0.2 มิลลิเมตร/รอบ ค่าความเร็วตัด (Cutting Speed) 3 ค่า คือ 40 , 50 และ 70 เมตร/นาที และความลึกในการกลึง (Depth of Cut) 0.5 มิลลิเมตร วัดค่าแรงด้วยไดนาโมมิเตอร์แบบวัดแรง 3 แกน เพื่อวิเคราะห์ค่าแรง ที่เกิดขึ้นจากการกลึงชิ้นงาน และวัดค่าความหยาบผิวชื้นงานด้วยเครื่องวัดความหยาบผิว (Surface Roughness) บันทึกผลการทดลองพร้อมกับวิเคราะห์ค่าทางสถิติด้วยวิธีแฟคทอเรียลเต็มรูปแบบ (General Full Factorial)
จากผลการทดลองพบว่า ค่ามุมหลบด้านข้างไม่ส่งผลกระทบต่อแรงตัดเฉือน ปัจจัยที่ส่งผล กระทบต่อแรงตัดเฉือนในกระบวนการกลึงคือ ความเร็วตัด และอัตราป้อน ระดับปัจจัยที่ให้ค่า ตอบสนองต่อแรงตัดเฉือนที่เหมาะสมคือ ค่าความเร็วตัดที่ระดับ 70 เมตร/นาที อัตราป้อนที่ 0.10 มิลลิเมตร/รอบ และพบว่าค่ามุมหลบด้านข้างไม่ส่งผลกระทบต่อค่าความหยาบผิว ระดับปัจจัยที่ส่งผล ให้ค่าความหยาบผิวชิ้นงาน S50C ในกระบวนการกลึงมีค่าความหยาบผิวชิ้นงานน้อยที่สุด คือค่ามุมหลบด้างข้างที่ 8 องศา ความเร็วตัดที่ระดับ 70 เมตร/นาที และอัตราป้อนที่ระดับ 0.10 มิลลิเมตร/รอบ

Abstract

This project is an experimental project to study the influence and variables of the lateral escape angle. Surface quality with lathe knives, High Speed ​​Steel by turning, peeling on the workpiece. With various factors Involved in The clearance angle of the turning knife, cutting speed and feed rate by turning the workpiece. To study the cutting labor cost And the roughness of the workpiece surface from turning with a turning knife with 3 clearance angles
Method of machining, material stripping medium carbon steel S50C using a high speed steel knife with 3 different side clearance angles: 8, 10 and 12 degrees, front 8 degrees, chip break 15 degrees, using the 3-level feed (Feed): 0.1, 0.16 and 0.2 mm / rev. Three cutting speed values ​​are 40, 50 and 70 m / min and the depth of cut is 0.5 mm. Force was measured with a 3-axis dynamometer to analyze the labor cost. That arising from the turning of the workpiece And measure the surface roughness with the surface roughness meter, record the results and analyze the statistical values ​​using General Full Factorial method.
From the results of the experiment, it was found that The flank clearance does not affect the shearing force. Factors that affect The impact on the cutting force in the turning process is the cutting speed and the feed rate. Responds to optimal cutting forces: Cutting speed at 70 m / min, feed rate at 0.10 mm / rev. And found that the lateral clearance did not affect the surface roughness value Affective factor level The surface roughness of the workpiece S50C is given in the turning process with the lowest surface roughness. Is the side clearance angle of 8 degrees, cutting speed at 70 m / min and feed at the level of 0.10 mm / rev.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *