ประวัติความเป็นความเป็นมา
ยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพการเรียนการสอนด้านเครื่องจักรกลอัตโนมัติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2536 เพื่อพัฒนาด้านกำลังคนและการผลิต ได้ติดตั้งเครื่องจักรกลและเครื่องมืออุปกรณ์โดย บริษัท EMCO MAIER จำกัด ประเทศออสเตรีย ให้การสนับสนุน ได้ดำเนินการใช้งานมากว่า 19 ปี โดยที่ผ่านมาศูนย์ฯ ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาฯ และได้รับงบประมาณตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ในการจัดซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ในด้าน CNC ตามวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มศักยภาพการในด้านการเรียนการสอน, การจัดฝึกอบรมต่าง ๆ และเป็นศูนย์ของการศึกษาด้านเทคโนโลยีการผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมและแม่พิมพ์ และได้จัดฝึกอบรมให้กับบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชนตามภูมิภาคที่สำคัญตลอดมา ดังรูปที่ 1

ประเด็นหลักในการดำเนินการ
- เพื่อดำเนินการจัดการเรียนการสอนและให้การสนับสนุนการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีเครื่องจักรกลอัตโนมัติ CNC ให้กับนักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงและระดับปริญญาของ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
- เพื่อพัฒนาบุคลากรของมหาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและของสถานประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิตด้านเทคโนโลยีเครื่องจักรกลอัตโนมัติ CNC
- เพื่อให้บริการ การซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลอัตโนมัติ CNC เครื่องมือและอุปกรณ์ให้กับศูนย์เทคโนโลยีเครื่องจักรกลอัตโนมัติ ย่อยในสังกัดมหาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีและสถานประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิตทั้งภาครัฐและเอกชน
- เพื่อให้บริการด้านการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกลและอะไหล่ เพื่อสนองความต้องการของสถานศึกษาภาครัฐ สถานประกอบการภาคเอกชน
- เพื่อทำการวิจัย พัฒนา ออกแบบและสร้างสิ่งประดิษฐ์ ด้านเทคโนโลยีเครื่องจักรกล สนับสนุนอุตสาหกรรมของประเทศ

ในปัจจุบันเทคโนโลยีเครื่องจักรกลอัตโนมัติที่ควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ (CNC) มีบทบาทและความสำคัญกับระบบการผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมเป็นอย่างมากเช่น เครื่องตัดโลหะด้วยการฉีดน้ำที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ (Water Jet Machining Centers) เครื่องกลึงซีเอ็นซี (CNC Turning) เครื่องกัดซีเอ็นซี (CNC Milling) เครื่องซีเอ็นซีแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ (Machining Center Machine) เครื่องกัดโลหะด้วยกระแสไฟฟ้าซีเอ็นซีอีดีเอ็ม (Electrical Discharge Machine: EDM) เครื่องซีเอ็นซีตัดโลหะด้วยเส้นลวด (CNC Wire Cut) เป็นต้น ทั้งนี้เครื่องจักรกลอัตโนมัติที่ควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์มีความเที่ยงตรงแม่นยำในการผลิตชิ้นงานหรือชิ้นส่วนต่าง ๆ ทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ลดเวลาในการทำงานเหมาะสำหรับการผลิตชิ้นงานที่มีการขึ้นรูปแบบยาก ๆ ซึ่งเครื่องจักรที่มีอยู่ ไม่สามารถตอบสนองการเรียนการสอนและการฝึกอบรมให้เป็นปัจจุบันได้ จึงจำเป็นต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักร และจัดเตรียมบุคลากร เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนที่เกิดขึ้น




จากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และความต้องการด้าน การขึ้นรูปงานที่มีความซับซ้อนของภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นสถาบันทางการศึกษามุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสร้างศูนย์ความเป็นเลิศทางเทคโนโลยี เป็นยุทธศาสตร์ที่ได้กำหนดไว้ ศูนย์เทคโนโลยี ซีเอ็นซี เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และมีเครื่องจักรกล ซีเอ็นซี และอุปกรณ์บางส่วน ทั้งยังมีความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศ การสร้างองค์ความรู้ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงองค์กรเพื่อรองรับสมรรถนะวิชาชีพ ให้กับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และบุคลากรภาคอุตสาหกรรม
ในปีการศึกษา 2557 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้กำหนดให้จัดตั้ง ศูนย์เทคโนโลยีเครื่องจักรกลอัตโนมัติ อยู่ในกำกับของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ตั้งอยู่ที่อาคารภาควิชาวิศวกรรมอุตสาการ ชั้น 3 เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาด้านการเรียนการสอน และพัฒนาบุคคลากรภาคอุตสาหกรรม ด้านเครื่องจักรกลอัตโนมัติ
เป้าหมาย
เพื่อเสริมสร้างความรู้ ทักษะวิชาชีพ และงานวิจัย ควบคู่คุณธรรม จริยธรรม แก่นักศึกษา มุ่งเน้นการฝึกปฏิบัตงานด้านเครื่องจักรกลอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และ ขยายโอกาสในการฝึกวิชาชีพแก่บุคคลากร เพื่อรองรับการสนับสนุน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
